วันอังคารที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553

คำอวยพรปีใหม่

ขอลาที ปีเก่า แสนเศร้าโศก
ความอับโชค ที่มา กับราศี
อีกโพยภัย ไข้ทำ ประจำมี
ในชีวี จงสลาย มลายพลัน



สวัสดี ปีใหม่ ขอให้สุข
หมดสิ้นทุกข์ กายจิต มิผิดผัน
อายุมั่น ขวัญยืน สี่หมื่นวัน
มีผิวพรรณ ผ่องนวล เย้ายวนชม



ปรารถนา เงินทอง กองท่วมฟ้า
ทำการค้า ร่ำรวย ไปสวยสม
มียศศักดิ์ รักใคร ใคร่ภิรมย์
ขอให้กลม เกลียวกัน และมั่นคง



ถ้าผู้ใด ใจว่าง เรื่องทางรัก
ให้พบพักตร์ กันที อย่ามีหลง
หากอกหัก หนักไป ครวญใคร่ปลง
ขอท่านจง โชคดี ทั้งปีเทอญ

My idol

ประวัติ ไหมไทย ใจตะวัน
ชอบเพราะ ร้องพลงสนุกดี และก็เป็นกันเอง



ไหมไทย ใจตะวัน หรือในอดีตที่อยู่วงดนตรี เสียงอีสาน คือ ไหมไทย อุไรพร วันนี้แยกตัวออกมาจากวงเสียงอีสาน ออกมาตั้งวงดนตรีของตัวเอง รับงานแสดงเอง ซึ่งต้องต่อสู้ฝ่าฟันกันพอสมควร และได้เข้ามาออกผลงานอัลบั้มกับค่าย แกรมมี่โกลด์ กับผลงานอัลบั้ม "บ่าวพันธุ์พื้นเมือง"

ประวัติส่วนตัว
ชื่อจริง : นายมนต์ชัย นามสกุล รักษาชาติ
ชื่อในวงการ : ไหมไทย ใจตะวัน

วัน/เดือน/ปีเกิด : วัน ศุกร์ ที่ 26 เดือน มกราคม พ.ศ. 2511

ภูมิลำเนา : บ.ดอนสั้น ต.ดอนมัน อ.ประทาย จ.นครราชสีมา

บิดาชื่อ : นายมี รักษาชาติ มารดาชื่อ : นางจูม รักษาชาติ

คณะหมอลำที่เคยอยู่ : อังคารแก้ววิเศษศิลป์, ก้องสยาม, นกยูงทอง,
อุดรมิตรนิยม, หมอลำซิ่ง, เสียงอิสาน
ผู้ชักนำเข้าวงการ : อ.ดอย อินทนนท์

ผลงานที่บันทึกเสียงครั้งแรก : หยุดเสียใจเถิดน้อง

ผลงานที่สร้างชื่อ : รักสาวนครสวรรค์, ลารักกลับแนวรบ, เห็นเธอที่เยอรมัน,
บักสิเด๋อ
เพลงที่สร้างชื่อ : แฟนเลือนสะเทือนใจ, ให้เขาเป็นคนสุดท้าย,
เห็นเธอที่เยอรมัน, บักสิเด๋อ ,น้องมากับคำว่าใช่ , ใจบ่มักดี
ที่อยู่ปัจจุบัน : 164 หมู่ 10 บ.หัวแฮด ต.ธัญญา อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์
ผลงานชุดล่าสุด : บ่าวพันธุ์พื้นเมือง : นักสู้หัวใจเชิ้ง:เวลคัมทูทำนา สังกัดค่าย  Grammy Gold

ผลงานเพลง
ผลงานชุดใหม่ ชุดที่ 3 เวลคัมทูทำนา


01 เวลคัม ทู ทำนา

02 ดาวมีไว้เบิ่ง

03 ไว้ชีวิตอ้ายได้บ่

04 คือเจ้าเท่านั้น

05 หน่อไม้ส้ม

06 เหนื่อยจังอยากฟังเสียง

07 หาแฟนบ่หมาน

08 แล้วไผสิฮักอ้าย

09 รอข่าวสาวฟังลำ

10 มือพิณข้าวขอบ

 เพลงในอัลบั้ม ชุด 1 บ่าวพันธุ์พื้นเมือง 

01 Stand By ที่อ้ายฮัก   

02 กลัวน้องมีสองใจ   

03 ถูกทิ้งที่พัทยา   

04 น้องมากับคำว่าใช่   

05 บ่กล้าบอกไผ   

06 บ่าวพันธุ์พื้นเมือง

07 รักพอกะเทิน

08 ไหมไทยหัวใจเดิม

09 อ้ายรับบ่ได้

10 ฮีตสิบสอง

เพลงในอัลบั้ม ชุด 2 นักสู้หัวใจเซิ้ง

01 นักสู้หัวใจเซิ้ง
02 ใจบ่มักดี
03 แค่มองก็มีแฮง
04 กับคนนั้นถึงขั้นไหม
05 ร็อคแอนค์ลาว
06 บ่ลืม...ก็ปลื้มแล้ว
07 ไส้เดือนตายแดด
08 คิดฮอดสาวบ้านเพิ่น
09 ม่วนเงินแม่
10 เสียงแคนจากแมนชั่น

วัันรัฐธรรมนูญ

 
                                      วันรัฐธรรมนูญ



          วันรัฐธรรมนูญ เป็นวันสำคัญทางประวัติศาสตร์อีกวันหนึ่ง ซึ่งตรงกับวันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี

ความหมายของรัฐธรรมนูญ

          รัฐธรรมนูญ หมายถึง กฎหมายว่าด้วยระเบียบการปกครองประเทศ

          วันรัฐธรรมนูญ ตรงกับ วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย
ประวัติความเป็นมา


          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศ

สาเหตุที่เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง

           พระบาท สมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 แห่งราชวงศ์จักรีทรงมีพระราชประสงค์ที่จะพระราชทานรัฐธรรมนูญ เพื่อเป็นหลักในการปกครองของประเทศให้แก่ประชาชนชาวไทย

           หลัง สงครามโลกครั้งที่ 1 เศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ผลอันนี้ได้กระทบมาถึงไทยด้วย พระองค์ได้แก้ไขเศรษฐกิจโดยปลดข้าราชการออก ยังความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการ

           อิทธิพลจากตะวันตกเกี่ยวกับอุดมการทางการเมือง ทำให้กลุ่มคนหนุ่มต้องการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

           รัฐบาลได้ออกกฏหมายเก็บภาษี อาทิ ภาษีโรงเรือน ภาษีที่ดิน จากราษฎร

          จากสาเหตุดังกล่าวข้างต้น ทำให้เกิดความไม่พอใจในหมู่ข้าราชการทหาร และราษฎรทั่วไปจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง โดยการปฏิวัติ มีคณะผู้รักษาการพระนครฝ่ายทหาร ซึ่งประกอบด้วยพันเอก พระยาพหลพยุหเสนา พันเอกพระยาทรงสุรเด และพันเอกพระฤทธิอาคเนย์ เป็นผู้บริหารประเทศ

          วันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญชั่วคราวเรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว" สาระ สำคัญของธรรมนูญการปกครองฉบับนี้ได้แก่ การที่กำหนดว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรืออำนาจอธิปไตยเป็นของราษฎร ทั้งหลาย การใช้อำนาจสูงสุดก็ให้มีบุคคลคณะบุคคลเป็นผู้ใช้อำนาจแทนราษฎรดังนี้ คือ

           พระมหากษัตริย์
           สภาผู้แทนราษฎร
           คณะกรรมการราษฎร
           ศาล

          ลักษณะ การปกครองแม้จะเปลี่ยนระบอบการปกครองมาเป็นประชาธิปไตยแต่ก็ถือว่าพระมหา กษัตริย์เป็นประมุขของประเทศ เป็นสถาบันที่ถาวรและมีการสืบราชสมบัติต่อไปในพระราชวงศ์ การปฏิบัติราชการต่างๆ จะต้องมีกรรมการราษฎรผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ โดยได้รับความยินยอมจากคณะกรรมการราษฎรจึงจะใช้ได้

วันรัฐธรรมนูญ


          สถาบันที่เกิดใหม่คือ สภาผู้แทนราษฎรซึ่งมีอำนาจทางนิติบัญญัติออกกฎหมายต่างๆ ซึ่งเมื่อพระมหากษัตริย์ลงพระปรมาภิไธยประกาศใช้แล้วจึงมีผลบังคับได้ เหตุนี้ในระยะแรกของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สภาผู้แทนจึงเป็นสถาบันที่มีอำนาจสูงสุดในทางการเมือง ส่วนการใช้อำนาจตุลาการยังคงให้ศาลยุติธรรมที่มีอยู่แล้วพิจารณาพิพากษาคดี ให้เป็นไปตามกฎหมายได้ตามเดิม

          กระทั่งถึง วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรสยาม ฉบับถาวร ซึ่งมีหลักการต่างกับฉบับแรกในวาระสำคัญหลายประการ อาทิได้เปลี่ยนระบอบการปกครองเป็นการปกครองแบบรัฐสภา ทั้งนี้เนื่องจากรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2475 ได้บัญญัติให้พระมหากษัตริย์ ซึ่งเป็นประมุขไม่ต้องรับผิดชอบทางการเมืองเป็นผู้ใช้อำนาจทางคณะรัฐมนตรี

          ซึ่งพระมหากษัตริย์ ทรงแต่งตั้งให้บริหารราชการแผ่นดิน แต่คณะรัฐมนตรีจะต้องรับผิดชอบในการบริหารราชการแผ่นดินต่อสภาผู้แทน รัฐสภาซึ่งเป็นฝ่ายนิติบัญญัติมิได้ใช้แต่เพียงอำนาจนิติบัญญัติเท่านั้น แต่มีอำนาจที่จะควบคุมคณะรัฐมนตรีในการบริหารแผ่นดินด้วย แต่อย่างไรก็ตาม คณะรัฐมนตรีรวมทั้งพระมหากษัตริย์ซึ่งประกอบกันเป็นรัฐบาลก็มีอำนาจที่จะยุบ สภาผู้แทนได้

          หากเห็นว่าได้ดำเนินการไปในทางที่จะเป็นภัยหรือเสื่อมเสียผลประโยชน์สำคัญ ของรัฐที่มีผลเท่ากับถอดถอนสมาชิกสภาที่ได้รับเลือกตั้งมาเพื่อให้ราษฎร เลือกตั้งใหม่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์นั้นได้บัญญัติว่าพระมหากษัตริย์ดำรง อยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้้

          รัฐธรรมนูญ เป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นเครื่องกำหนดระเบียบแบบแผนของสังคม เพื่อเป็นการระลึกถึงรัฐธรรมนูญฉบับแรก อันเป็นฉบับถาวร และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานให้กับปวงชนชาวไทย ทางราชการจึงกำหนด วันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันรัฐธรรมนูญ

วันพ่อแห่งชาติ

 
ความเป็นมาวันเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวา ( วันพ่อ )
วันเฉลิมพระชนมพรรษา


ความหมายตราสัญลักษณ์ งานเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา ๘๐ พรรษา
๕ ธันวาคม ๒๕๕๐
        5 ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทางราชการได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการหนึ่งวัน เพื่อให้ประชาชนชาวไทย ได้ร่วมกันเฉลิมฉลองในวันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ ถือเป็นวันพ่อแห่งชาติ อีกวันหนึ่งด้วย วันเฉลิมพระชนมพรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีความเป็นมาของวันสำคัญ คือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชสมภพเมื่อ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2470 ณ โรงพยาบาล เมาท์ ออเบิร์น นครบอสตัน สหรัฐอเมริกา โดยนายแพทย์วิทท์มอร์ เป็นผู้ถวายการประสูติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯขึ้นเถลิงถวัลย์ราชสมบัติเป็นรัชกาลที่ 9 แห่งบรมจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ ทรงประกอบพระราชกรณียกิจและเจริญพระราชจริยาวัตรเป็นเอนกประการ จำเนียรกาลผ่านมาถึงปัจจุบันที่สุดจะพรรณนาให้ครบถ้วนได้ ท่ามกลางมหาสมาคมวันพระราชพิธีพระบรมราชาภิเษก ทรงมีกระแสพระราชดำรัสที่พสกนิกรทุกคนยังจดจำได้ "เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม" อันคำว่าโดย "ธรรม" นั้น ทรงหมายถึง ธรรมอันล้ำเลิศที่เรียกว่า "ทศพิธราชธรรม" หรือที่เรียกกันโดยสามัญว่า "ราชธรรม 10 ประการ" ราชธรรม 10 ประการนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงยึดมั่นทรงปฎิบัติโดยเคร่งครัด และส่งผลถึงพสกนิกรทั่วพระราชอาณาจักรนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณเหนือเกล้าฯ

         วันพ่อแห่งชาติ ได้จัดให้มีขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2523 โดยคุณหญิงเนื้อทิพย์ เสมรสุต นายกสมาคมผู้อาสาสมัครและช่วยการศึกษาเป็นผู้ริ่เริ่ม หลักการและเหตุผลในการจัดตั้งวันพ่อ โดยที่พ่อเป็นผู้มีพระคุณที่มีบทบาทสำคัญ ต่อครอบครัวและสังคม สมควรที่ผู้เป็นลูกจะเคารพเทิดทูนตอบแทนพระคุณด้วยความกตัญญู และสมควรที่สังคมจะยกย่องให้เกียรติรำลึกถึงผู้เป็นพ่อ จึงถือเอาวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปีซึ่งเป็นวันเฉลิมพระชนมพรรษาเป็น "วันพ่อแห่งชาติ" ด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีต่อพสกนิกรชาว ไทยอย่างนานัปการ ทรงเป็นพระราชบิดาของพระราชโอรสและพระราชธิดา ทรงรักใคร่และห่วงใยตั้งแต่พระเยาว์จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งพระเจ้าหลานเธอทุกพระองค์ต่างซาบซึ้งและปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณ อย่างมิรู้ลืม พระองค์ทรงเป็น "พ่อ" ตัวอย่างของปวงชนชาวไทยที่เปี่ยมล้นด้วยพระเมตตากรุณา ทรงห่วงใยอย่างหาที่เปรียบมิได้